แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
แมกนีเซียม ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก บรรเทาภาวะเครียด อาการซึมเศร้า ปวดไมเกรน
ฟลูออไรด์ ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน ช่วยป้องกันฟันผุ
แม้ว่าน้ำจะมีโมเลกุลขนาดเล็กซึ่งประกอบด้วยอะตอมของ ไฮโดรเจน 2 อัน และอะตอมออกซิเจน 1 อัน แต่น้ำที่มาจากน้ำที่ได้คุณภาพจะมีโมเลกุลขนาดเล็กมากจนซึมเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ดี
ช่วยให้ร่างกายนำน้ำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แตกต่างจากน้ำที่ไม่ได้ผ่านการกรองที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กว่าและเป็นอันตรายมากกว่าหากดื่มเข้าไป
เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี เราจึงไม่มีทางรู้ได้เลยว่าน้ำที่กำลังดื่มเข้าไปมีสิ่งปนเปื้อน, อนุภาค และตะกอนสะสมอยู่หรือไม่ โดยน้ำส่วนใหญ่ที่มีความกระด้างมักมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแอ่งน้ำ น้ำบาดาล ทะเลสาบ ที่มีส่วนผสมของเหล็กและแร่ธาตุที่ละลายน้ำได้
รวมถึงตะกอนที่พบในดินก็สามารถทำให้น้ำกระด้างได้เช่นกัน โดยค่าความกระด้างของน้ำระดับปานกลางจะอยู่ที่ 75-150 mg/L หากเราดื่มน้ำที่มีความกระด้างมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวด้วย
หากวันหนึ่งคุณพบว่าน้ำที่ดื่มอยู่นั้นมีสีที่ขุ่นไปจากเดิมก็คงไม่มีใครอยากดื่มเข้าไปใช่ไหมครับ ซึ่งความขุ่นดังกล่าวแสดงว่าน้ำไม่สะอาดจนไม่สามารถดื่มได้ หรือหากดื่มน้ำเข้าไปแล้วรู้สึกว่ามีกลิ่นสารเคมีหรือกลิ่นคลอรีนปะปนอยู่ก็อาจไม่อยากดื่มอีกเหมือนกัน
ดังนั้นน้ำคุณภาพดีจะต้องมีทั้งความสะอาดและรสชาติไม่ผิดแผกไปจากน้ำที่เคยดื่ม เว้นเสียแต่ว่าเป็นน้ำด่างที่มีรสชาติไม่เหมือนน้ำทั่วไป เนื่องจากผ่านการกรองโดยไส้กรองคาร์บอน
สิ่งสำคัญที่ควรมีในน้ำดื่มคือต้องไม่มีสารปนเปื้อนใด ๆ ปะปนอยู่ ควรเป็นน้ำสะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งการจะหาน้ำดื่มที่สะอาดได้นั้นจะต้องเป็นน้ำที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำระบบ RO ซึ่งเป็นระบบเครื่องกรองน้ำที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด
ในเรื่องของการกรองสิ่งสกปรกออกได้อย่างหมดจด เนื่องจากใช้ไส้กรองเมมเบรนที่กรองได้ละเอียดถึง 0.0001 ไมครอน ซึ่งไม่มีสิ่งปนเปื้อนใดสามารถผ่านเข้าไปได้นั่นเอง
เป็นน้ำที่เกิดจากกระบวนการการควบแน่นด้วยเครื่องกลั่นน้ำ ซึ่งแร่ธาตุทุกชนิดที่อยู่ในน้ำจะถูกกำจัดออก น้ำที่ได้จึงเป็นน้ำบริสุทธิ์ ไม่มีส่วนผสมของแร่ธาตุใดๆ
ส่วนค่า pH หรือค่าความเป็นกรดด่างของน้ำกลั่นจะค่อนข้างไปทางกรด (ต่ำกว่า 6) เนื่องจากมีคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตละลายอยู่ จึงเหมาะสำหรับใช้เตรียมสารละลายและใช้เตรียมน้ำยาในด้านอุตสาหกรรม เช่น การทำน้ำเกลือล้างแผล, การเติมแบตเตอรี่
แม้ว่าน้ำกลั่นจะดื่มได้แต่อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากน้ำกลั่นไม่มีแร่ธาตุใดผสมอยู่แม้แต่น้อย ทำให้ร่างกายต้องดึงแคลเซียมจากกระดูกและหัวใจออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดโรคกระดูกพรุน, โรคหัวใจและความดันโลหิตสูงตามมา
ระบบประปาเป็นระบบที่มีการรั่วซึม จึงต้องอาศัยแรงดันน้ำในการดันไม่ให้สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกซึมเข้าสู่ภายในท่อ
แต่เนื่องจากประเทศไทยใช้ระบบแรงดันต่ำเพื่อลดปริมาณน้ำที่สูญเสียจากการรั่วซึมของท่อลำเลียง จึงไม่สามารถป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจเข้ามาภายในท่อและไม่สามารถชะล้างสิ่งสกปรกที่ตกค้างอยู่ภายในท่อได้ดีเท่าที่ควร
แม้ว่าจะเป็นน้ำที่มาจากน้ำฝนที่ถูกดูดซึมลงไปในดินก็ตาม แต่น้ำบาดาลอาจมีสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายปะปนอยู่ในน้ำได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นสารเคมี, แบคทีเรีย และสิ่งสกปรกต่างๆ
ดังนั้นหากต้องการนำน้ำบาดาลมาดื่มจะต้องนำน้ำมากรองผ่านเครื่องกรองน้ำระบบ RO ซึ่งเป็นระบบกรองที่สามารถกรองสิ่งปนเปื้อนได้มากถึง 0.0001 ไมครอน เมื่อกรองน้ำบาดาลจนได้น้ำสะอาดแล้วก็สามารถนำมาดื่มได้หายห่วง
ช่วยรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกาย ไม่ให้ร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำจนเกิดอันตรายแก่ชีวิต
น้ำเป็นตัวทำละลายที่ช่วยนำของเสียออกจากเซลล์และส่งไปยังปอด, ผิวหนังและไตเพื่อขับออกจากร่างกาย
น้ำช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยกระจายความร้อนไปยังอวัยวะต่าง ๆ หากร่างกายมีความร้อนมากเกินไป น้ำจะช่วยขับความร้อนส่วนเกินออกจากร่างกาย
น้ำช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการบาดเจ็บจากการเสียดสีของอวัยวะภายใน
ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญพลังงานในร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยลดความอยากอาหารให้น้อยลง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น มีสุขภาพดี
ตามหลักแล้วคนเราควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว (ประมาณ 1,500 – 2,000 มิลลิลิตร) แต่ที่จริงแล้วร่างกายของแต่ละคนต้องการน้ำในปริมาณไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและกิจกรรมที่คุณทำระหว่างวันด้วย โดยคุณสามารถหาค่าความต้องการน้ำของร่างกาย ได้จากสูตรดังต่อไปนี้
“น้ำหนัก (กิโลกรัม) คูณด้วย 2.2 คูณด้วย 30 และหารด้วย 2 = ปริมาณน้ำที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน เช่น (น้ำหนัก 50 กิโลกรัม x 2.2 x 30) / 2 จะเท่ากับ 1,615 มิลลิลิตร หรือ 1.6 ลิตรโดยประมาณ